Blogger มือใหม่ + เริ่มต้นเขียนบทความ ด้วย Ghost Blogging Platform
สวัสดีครับ บทความนี้จะมาแนะนำมีเว็บไซต์ มีบล็อกเป็นของตัวเอง และ ขั้นตอนการเริ่มต้นเขียนบทความ โดยใช้ Ghost Blogging Platform กันครับ
หลายๆ คนอยากเป็นบล็อกเกอร์ (Blogger) โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบการเขียน (ตัวเจ้าของบล็อกก็เช่นกัน) แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร วันนี้ผมจะมาเขียนขั้นตอนอธิบายกันนะครับ
- หา Concept หรือเรื่องที่เราจะเขียน
- หากลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่จะอ่านบล็อกของเรา
- มีช่องทางการเขียน เราสามารถเลือกได้หลายๆ แหล่ง ไม่ว่าจะเป็น Medium, Wordpress, Blogger, Ghost หรือแม้แต่ลง Facebook
- ลงมือเขียนและสม่ำเสมอ
ซึ่งแน่นอน ขั้นตอนต่างๆ มันก็เป็นขั้นตอนพื้นฐาน ที่ทุกคนก็น่าจะรู้อยู่แล้วเนอะ 🤣
เริ่มต้นเขียนบล็อก
เราสามารถเริ่มต้นเขียนบล็อกได้หลายช่องทางครับ ช่องทางที่ง่ายสุดๆ คือ
ใช้ Medium.com ครับ เพียงแค่เราสมัครสมาชิก ก็สามารถเริ่มต้นเขียนได้เลย ไม่เสียค่าใช้จ่าย หรือหากเรามีโดเมนเป็นของตัวเอง เราก็สามารถใช้ Custom Domain ได้

แต่บทความนี้ผมจะมาแนะนำ Ghost Blogging Platform นะครับ

ข้อดีของ Ghost และ Features
หลายๆ คนคงจะสงสัย ว่า Ghost มี Features และข้อดีอะไรบ้าง อันนี้เป็นตัวอย่าง ที่ทำให้ผมเลือกใช้งาน Ghost ครับ
- สำหรับคนที่ชอบ Newsletters ถือว่า สะดวกและครบ เราเพียงแค่เขียนบทความ และโพส ตัว Ghost ก็จะทำการส่งอีเมล์ให้เราด้วย
- สำหรับ Publishers เราสามารถสมัครสมาชิก ให้คนมา Subscribe เพื่อเข้าชมเว็บเราได้
- เชื่อมต่อกับ Stripe ทำให้เราสามารถทำ Membership ได้ง่ายๆ
- หน้า Editor ใช้งานง่าย เขียนบทความง่าย (หากเคยใช้ Medium ให้ความรู้สึกคล้ายๆกัน)
- UI สบายตา + มีความ Modern เน้นการเขียนบล็อกเป็นหลัก
- มีระบบ Comments สำหรับสมาชิก (ซึ่ง feature นี้เพิ่งเพิ่มเข้ามา เมื่อ 15 สิงหาคม 2022 ที่ผ่านมานี้เอง)
มีอะไรอัพเดทหรือมีอะไรเพิ่มมา เราสามารถเข้าไปดูได้ใน Changelog

หรือเว็บไหนใช้ Ghost บ้าง ก็ลองไป Explore กันดูเพิ่มเติมได้นะครับ

สมัครใช้งาน Ghost Pro
เริ่มต้น ให้เรากด Getting Started เพื่อเลือก Theme ของเว็บบล็อกเรา ที่เราสนใจ (ตัว Default Theme ของ Ghost) หรือ เราสามารถลง Custom Theme หรือ ซื้อ Theme มาใช้เองก็ได้เช่นกัน (ถ้า Custom theme จะไม่สามารถเลือกแบบ Starter Plan ได้)

เมื่อได้ Theme แล้ว จากนั้น ก็กำหนด Publication ชื่อบล็อกที่เราต้องการ ในขั้นตอน Onboarding ก็จะมีถามเราว่าเราเป็น Creator / Publisher / Business เราสามารถเลือก เพื่อให้ทาง Ghost แนะนำ Personalize / UX ให้เราก็ได้ หรือกดข้ามก็ได้เช่นกัน


สุดท้าย ใส่ Email และกำหนด Password เพื่อใช้งาน Ghost ครับ เราจะได้ทดลองใช้งาน Ghost Pro 14 วัน (แต่ตอนสมัคร เราต้องกรอกบัตรเครดิตครับ บัตรยังไม่ตัด เราสามารถยกเลิกบัตรได้ ถ้าเราไม่ชอบ Trial 14 วัน)
โดยราคา Ghost Pro จะอยู่ที่ $9 ต่อเดือน ถ้าเราจ่ายแบบรายปี แต่ถ้าจ่ายแบบรายเดือน จะอยู่ที่ $11 ต่อเดือน

Settings
หน้า Settings เราสามารถปรับแต่งหน้าเว็บได้ ตัวอย่าง เช่น
- General - เราสามารถกำหนดชื่อเว็บไซต์เรา กำหนด Social Media ต่างๆ เป็นต้น
- Design - เป็นการกำหนด สี กำหนด UI ของเว็บ (ขึ้นอยู่กับ Theme ที่ใช้)
- Navigation - กำหนด Menu ของเว็บ อยากเพิ่ม ลบ Menu ทำที่นี่ได้
- Membership - เราสามารถกำหนดว่าบทความเรา ให้ทุกคนเห็น หรือเฉพาะสมาชิก รวมถึงทำระบบ Subscription เชื่อมต่อกับ Stripe ได้ด้วย
- Integrations - เราสามารถเลือกใช้งาน Third Party อื่นๆ ได้ เช่น Zappier เพื่อทำ Automated ต่างๆ เช่นเวลาโพสบทความ ให้โพสลง Twitter ด้วย อะไรประมาณนี้ ลองใช้งานดูครับ
- Code Injections - สำหรับการ customize ต่างๆ เช่น ลง Google Analytics หรือ JavaScript เพิ่มเติม (ถ้าไม่มีความรู้เรื่อง Coding แนะนำว่าไม่ควรปรับแต่งอะไรครับ)

เขียนบทความ
เราเริ่มต้นเขียนบทความ ด้วยการเลือก Posts และกด New Post โดยที่เราสามารถกำหนด Feature Image ได้ง่ายๆ จากการอัพโหลดรูปเราเองก็ได้ หรือใช้ Unsplash ครับ คนหารูปที่ต้องการ แล้วเลือกได้เลย

เมื่อเรา Highlight ข้อความ เราสามารถกำหนด ตัวหนา ตัวเอียง ใส่ Link ได้

การใส่รูปภาพ เพียงแค่กดปุ่ม บวก ด้านข้าง แล้วเลือก Image นอกากนั้นเรายังเลือกแบบ Gallery ได้ หรือจะลองแทรกรูปจาก Unsplash วิดีโอจาก Youtube ก็ทำผ่านปุ่มนี้ได้เลย

การทำ Bookmark (Embed a link as a visual bookmark) เราสามารถ แสดง Link แบบสวยๆ ด้วยการ นำ link มาใส่ได้เลย หรือเลือกปุ่ม + แล้วเลือก Bookmark จากนั้น เอา link url มาใส่ จะได้เหมือน กล่องด้านล่างครับ

Shortcut ในการใช้งาน กรณีไม่ได้กดปุ่ม + คือการกดปุ่ม /
หรือ Slash นั่นเอง

ช่องขวามือตรง Post Settings เราสามารถกำหนด เวลาที่จะโพส, URL ที่ต้องการ, ใส่ Tags ที่ต้องการ รวมถึงกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงโพส ว่า Public หรือเฉพาะ Member ก็ได้ รวมถึง การกำหนด Meta Data สำหรับช่องทาง Social Network และ SEO
การ Preview Post เพื่อดูบทความของเราก่อนโพส สามารถดูได้แบบหน้าจอปกติ หน้าจอมือถือ อีเมล์ รวมถึง Preview ว่าถ้าโพสลง Social Network จะมีหน้าตาอย่างไร จาก Meta Data ที่เรากำหนด

เมื่อเราเขียนบทความ จนเป็นที่น่าพอใจแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายคือการ Publish บทความ นั่นเอง เราสามารถโพสเลย หรือตั้งเวลาได้ รวมถึงกำหนดว่า ให้โพสอย่างเดียว หรือโพสแล้วส่งอีเมล์ด้วย

แหล่งศึกษาเพิ่มเติม



สุดท้ายขอให้สนุกกับการเขียนบทความนะครับ หรือหากใครกำลังเริ่มเขียนบทความ สามารถมาคอมเม้นแชร์กันได้นะครับ ผมก็เป็นคนนึงที่ชอบอ่าน และเขียนเหมือนกัน
Happy Writing ❤️